วันอังคารที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2553

มารู้จักสัตว์ทวีปแอฟริกากัน ^-^

สัตว์ทวีปแอฟริกา 


                                    

                กอริลลา (Gorilla) อยู่ในป่าฝนใจกลางทวีปแอฟริกา บางตัวอยู่บนภูเขา แต่บางตัวก็อยู่ตามที่ราบต่ำลงมา กอริลลากินเฉพาะพืชเป็นอาหาร ลิงหนุ่มเรียกว่า "เจ้าหลังเงิน" เพราะจะมีขนสีเทาเงินที่หลัง เวลาขู่คำรามจะยืนตรงและใช้สองมือทุบหน้าอก
 

                                

            ด้วงโกไลแอธ (Goliath beetle) เมื่อโตเต็มที่ตัวหนึ่ง ๆ จะยาวไม่น้อยกว่า 4 นิ้วฟุต และหนักเท่ากับหนูจี๊ดตัวหนึ่ง เป็นแมลงที่แข็งแรงมาก กินผลไม้ที่อยู่บนยอดเป็นอาหาร



 นิ่ม ( pangolin) ตลอดตัวของนิ่มจะเป็นเกล็ดแข็ง ๆ เพื่อใช้ป้องกันตัว เมื่อพบศัตรูร้ายกาจมันจะม้วนตัวเป็นก้อนกลม ๆ เหมือนลูกบอลหุ้มเกราะ นิ่มเป็นสัตว์ที่ปีนป่ายได้เก่ง หางยาวของนิ่มจะช่วยในการเกาะเกี่ยวกิ่งไม้ได้ดี อาหารของตัวนิ่มคือ มด ปลวก มันจะใช้ลิ้นที่ยาวมากของมันแลบไปจับมดหรือปลวกที่อยู่ในรังออกมากินได้อย่างง่าย ๆ



          โอคาปิ (Okapi) เป็นญาติกับยีราฟแต่ตัวเล็กกว่ามีเขาหนังทู๋ ๆ บนหัวคู่หนึ่ง โอคาปิมีลิ้นยาวมากมันใช้ลิ้นนี้ตวัดเก็บใบไม้กินก็ได้ ใช้ลิ้นถอนหรือเด็ดหน่ออ่อนของต้นไม้ก็ได้ และยังใช้ลิ้นแลบไปเลียหนังตาได้อีกด้วย โอคาปิเป็นสัตว์ที่เพิ่งค้นพบใหม่ราว 100 ปีมานี้เอง




 ชิมแปนซี (Chimpanzee) เป็นลิงที่คล้ายคนที่สุด ใช้ชีวิตส่วนใหญ่บนพื้นป่า แม้กระทั่งนอนก็จะนอนตามโคนต้นไม้ กินผลไม้ ไข่นกและแมลง ชิมแปนซีเมื่ออยู่เป็นฝูงจะออกล่าลิงอื่นเป็นอาหารด้วยเช่นกัน



          สิงโต (Lion) สิงโตตัวเมียจะเป็นตัวที่ออกล่า มันจะย่องเข้าทางด้านหลังฝูงสัตว์ เช่น ม้าลาย กวาง และเนื้อทราย สิงโตตัวผู้ที่เป็นหัวหน้าจะมีบริวารเป็นสิงโตตัวผู้ที่อ่อนเยาว์กว่าสอง-สามตัว และตัวเมีย 15 ตัว ถ้าในฝูงมีลูกสิงโตเกิดใหม่เป็นตัวผู้ ตัวจ่าฝูงก็จะฆ่าให้ตาย


                       ไฮยีนา (Hyena) เป็นสัตว์ชนิดหนึ่งที่เกาะติดกับฝูงสิงโต ไฮยีนาเป็นสัตว์กินเนื้อ บางครั้งมันจะล่าเหยื่อได้ แต่บางครั้งก็ถูกสิงโตแย่งชิงไป แต่บาวคราวสิงโตล่าเหยื่อได้ ไฮยีนาจะคอยเฝ้ารอโอกาสสิงโตเผลอ พวกมันก็จะขโมยเหยื่อไป หรือสิงโตกินอิ่มแล้ว ไฮยีนาก็เข้ามาแทะกระดูก ขบกินไขในกระดูกเหยื่อ



                          อาร์ดวาร์ค (Aardvark) เป็นตัวกินมดอีกชนิดหนึ่งที่แปลกประหลาด มันออกหากินในเวลากลางคืนตามลำพัง มีจมูกแสนวิเศษและหูที่รับฟังเสียงได้อย่างดีเยี่ยม อาหารที่กินคือปลวกและมด เมื่อพบรังมดหรือปลวกมันจะใช้อุ้งเล็บขุดและฉีกรังมดหรือปลวกจากนั้นก็จะเก็บปลวกหรือมดกิน



               ตั๊กแตนทะเลทรายจะวางไข่ในดิน เมื่อฝนโปรยในแถบแอฟริกาตอนเหนือ ไข่ตั๊กแตนทะเลทราย (Desert locust) ที่ฟักตัวอยู่ใต้ดินก็จะแตกกลายเป็นฝูงตั๊กแตนขึ้นมายึดครองผืนดินบริเวณนั้น ซึ่งจะมีไม่น้อยกว่า 50 ล้านล้านตัว เมื่อฝูงตั๊กแตนฮือไปยังทุ่งไหน พวกมันก็จะช่วยกันกัดกินต้นไม้ใบหญ้าในทุ่งนั้นราบเรียบภายในไม่กี่นาที


                    กวางทอมสัน (Thomson's gazelle) หากินตามทุ่งหญ้าซาวันนาทางตะวันออกของแอฟริกา ทุ่งหญ้าแทบนี้ต้นไม่สูง กวางทอมสันจะอยู่กันเป็นฝูง เมื่อตกใจก็จะกระโดดขึ้นจากพื้นทั้งสี่ขา มองดูเหมือนพวกมันเต้นระบำ

วันพฤหัสบดีที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2553

กำเนิดสปีชีส์

กำเนิดสปีชีส์


สปีชีส์ใหม่วิวัฒนาการมาจากสปีชีส์ก่อนได้โดยการแยกกันทางการสืบพันธุ์ นอกจากนี้ยังมีแนวทางให้เกิดสปีชีส์ใหม่ 2 แนวทาง คือ


1. การแยกกันตามสภาพภูมิศาสตร์

การแยกกันตามสภาพภูมิศาสตร์หรือการแยกกันตามสถานที่อยู่ (spatial isolation) เมื่อประชากรกลุ่มหนึ่งถูกแยกออกเป็นกลุ่มย่อย ๆและอยู่ในสภาพภูมิศาสตร์ที่แตกต่างกัน เช่น ภูเขา ที่ราบ ทะเล แม่น้ำ ในครั้งแรกสิ่งมีชีวิตเหล่านี้จะมีกลุ่มจีนเหมือนกัน แต่ต่อมาแต่ละกลุ่มจะมีการปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกันของแต่ละกลุ่ม จนทำให้เกิดความแตกต่างกันไปจากกลุ่มเดิมเมื่อเวลานานพอก็จะทำให้เกิดความแตกต่างกันมากขึ้น จนในที่สุดเกิดเป็นสปีชีส์ใหม่ได้


-สปีชีส์หนึ่งประกอบด้วยประชากรที่สามารถผสมพันธุ์ซึ่งกันและกันได้อย่างอิสระ (แบบสุ่ม)
         -ต่อมาประชากรขยายตัวห่างไกลกันมากขึ้นจนเกิดประชากร 2 กลุ่มมีการผสมพันธุ์ ระหว่างกลุ่มน้อยลง การแลกเปลี่ยนจีนระหว่างประชากรทั้งสองลดลง
         -ถ้ามีสิ่งกีดขวาง จีนในแต่ละกลุ่ม ก็จะแยกจากกันเมื่อเวลาล่วงเลยไปนานขึ้นกระบวนการทางมิวเทชัน และการคัดเลือกโดยธรรมชาติ ทำให้เกิดความแตกต่างกันชัดเจนมากขึ้น จนเกิดเป็นสองซับสปีชีส์
          -เมื่อมีความแตกต่างกันมากจนกระทั่งไม่สามารถผสมพันธุ์ จนเกิดลูกผสมที่ไม่เป็นหมันได้ก็จัดไว้ต่างสปีชีส์กัน
2. การเปลี่ยนแปลงจำนวนโครโมโซม


การเปลี่ยนแปลงจำนวนโครโมโซม (chromosome change) เป็นการเปลี่ยนแปลงจำนวนชุดของโครโมโซมที่เรียกว่า ยูพลอยดี (euploidy) โดยชุดของโครโมโซมอาจเพิ่มขึ้นจากปกติ 2n เป็น 3n หรือ 4n หรือลดลงเป็น n โดยทั่วไปแล้วมักจะเป็นการเพิ่มของโครโมโซมหรือพอลิพลอยดี (polyploidy) และมักพบในพืช ส่วนในสัตว์นั้นไม่ค่อยพบ เช่น ลูกผสมของหัวผักกาดแดง กับกะหล่ำปลี ซึ่งเรียกว่า Raphanobrassica ทั้งหัวผักกาดแดงและกะหล่ำปลีมีโครโมโซม 2n=18 เมื่อผสมกันธรรมดา จะได้ลูกที่มีโครโมโซม 2n=18 แต่จะเป็นหมันเนื่องจากในขณะแบ่งตัวแบบไมโอซิส โครโมโซมเข้าคู่กันไม่ได้ แต่ถ้าทำให้โครโมโซมเพิ่มเป็นโพลีพลอยดีคือลูกผสม 2n เป็น 36 จะสามารถสร้างเซลล์สืบพันธุ์ได้และสืบพันธุ์ต่อไปได้อย่างปกติ และให้ลูกที่มีโครโมโซม 2n=36 คือ Raphanobrassica ซึ่งเป็นสปีชีส์ใหม่



รูป การผสมของหัวผักกาดแดงและกะหล่ำปลี
 
By : THE OLYMPIANS 

สิ่งประดิษฐ์แนวคิดสร้างสรรค์ : ซีดีรองแก้ว

สิ่งประดิษฐ์แนวคิดสร้างสรรค์


สิ่งประดิษฐ์แนวคิดสร้างสรรค์


ชื่อ : ซีดีรองแก้ว

ส่วนประกอบ


1. แผ่น CD-ROM ที่ไม่ใช้แล้ว

2. ผ้าสักหลาด

3. แผ่นยาง(ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางเท่ากับแผ่นซีดี)

4. กาว

5. หลอดกาแฟ

6. วัสดุตกแต่งอื่น ๆ (ปากกา,สี,วัสดุเขียนผ้าอื่น ๆ)

หลักการทำโดยสังเขป


1. นำแผ่นซีดีที่ไม่ใช้แล้วมาทากาวติดกับแผ่นยางขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางเท่ากับแผ่นด้านใดด้านหนึ่ง

2. นำผ้าสักหลาดตัดให้ขนาดพอดีกับแผ่นซีดี โดยเพื่อขอบ 1 cm`

3. นำหลอดกาแฟมาขดจนรอบแผ่นซีดีและปิดทับด้วยผ้าสักหลาดทากาวยึดติด

4. ทิ้งไว้ให้แห้ง และตกแต่งให้สวยงามเอาตามใจชอบ

หมายเหตุ : หากไม่สะดวกต่อการใช้ผ้าสักหลาดสามารถใช้ผ้าอย่างอื่นแทนได้แต่ควรเป็นผ้าที่มีคุณสมบัติแห้งไว


                                


By : THE OLYMPIANS